เป็นแฟ้มสะสมงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่2/2558
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
การเรียนการสอนคาบที่ 2 ศุกร์ 15 มกราคม 2559
การเรียนการสอนคาบที่ 2 ศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559
การบันทึกครั้งที่ 2
วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้กระดาษมา กระดาษนั้นน้อยกว่าจำนวนของคน คนมากกว่ากระดาษ อยู่ 8 คน
เกิดการเปรียบเที่ยบในการหาค่าคำนวณ จำนวนตัวเลขของคนที่ยังไม่ได้กระดาษ
ว่าต้องหากระดาษเพิ่มอีกกี่แผ่นของจำนวนคน ที่ยังไม่ได้กระดาษขาดอยู่ 8 คน 8 แผ่น
ให้หัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวข้อ
1. เด็กปฐมวัย 2. การจัดประสบการณ์ 3. คณิตศาสตร์ ทำเป็น Mind Mapping
พร้อมอธิบายหัวข้อที่จะต้องแตกออกไป มีทฤษฎี ความหมาย หลักการ แนวทาง การเรียนรู้
เป็นต้นและให้ทำงานที่สั่งในบล็อกเกอร์ในเสร็งส่งภายในวันนี้ก่อน 23.00 น.
ตามหัวข้อเรื่องที่ตัวเองได้รับมอบหมายที่อาจรย์สั่งงานมอบหมายงาน
ให้หัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตาม Mind Mapping
เป็นงานให้ทำเพราะสัปดาห์หน้าอาจารย์มีธุรกิจติดงานมหาวิทยาลัย
ทักษะที่ได้รับ
: ทักษะจากการสร้างสถาณการณ์
: ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาการเรียน
: ทักษะความสำคัญคือ การแก้ไขปัญหา
การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำเทคนิควิธีการสอนและกระบวนการคิดนี้มาปรับประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการสอน
เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามวัยและช่วงอายุ
เน้นไปทางด้านเกมการศึกษาจะช่วยฝึกกระตุ้นการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนรู้เพื่อนๆนักศึกษาทุกคนตั้งใจฟังและเข้าใจเวลาอาจารย์ผู้สอน
ในสนทนาตอบคำถามมีการแย่งกันแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปทำให้เรียนแล้ว
ดูไม่ตรึงเครียดและฝึกการคิดวิธีการที่หลากหลายวิธี
ประเมินวิธีการสอน
การสอนของอาจารย์จินตนาจะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบ
คำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิดสามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลาย
คนทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์
จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลาเรียนแล้วเขาใจง่ายแต่อยากให้อาจารย์พูดช้าลงนิดหน่อยค่ะ
คุณธรรมจริยธรรม
รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมายและสั่งงาน
ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน
ไม่เสียมารยาทรบกวนผู้สอนหรือผู้เรียน
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ กิจกรรมการปั้นกระดาษ 15 มกราคม 2559
สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
งานวิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
ชื่องานวิจัย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ Early Childhood Children's Mathematical Basic Skills Acquired Paper Dough ActiviTier
ผู้วิจัย : วราภรณ์ วราหน
บทที่1 บทนำ
การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย ถือได้ว่า เป็นพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญต่อการวางรากฐานของ
ชีวิตหากเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทางด้านอารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่
เหมาะสมก็จะเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อสังคมและประเทศชาติการจะพัฒนาทรัพยากร มนุษย์นั้นให้มีคุณภาพจะต้องเริ่มตั้งแต่แรกเริ่มวัยเริ่มแรกของชีวิต คือเด็กปฐมวัย คือวัยตั้งแต่
แรกเกิดจนถึง 6 ปี เนื่องจากเด็กนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เช่นด้านร่ากายและ ด้านสติปัญญา การพัฒนาเด็กปฐมวัยควรพัฒนาให้ครอบบคลุม
พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
การพัฒนาความสามารถทางปัญญา เป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะ
ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมความคิด และการใช้เหตุผลสอดแทรกและการบูรณาการ
ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เข้ากับทุกกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดและการใช้
เหตุผลค้นคว้าหาคำตอบสิ่งต่างๆด้วนตนเอง
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับมาจากการ
จัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการปั้นกระดาษ
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง ระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเพทพมหานคร โดยมีนักเรียน 8ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 216 คน
2. กลุ่มตัวอย่างวิจัย เป็นเด็กชาย-หญิง ระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเพทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง Purposive Samping
เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 1 ห้อง จำนวน 30 คน
ตัวแปรการศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
: การรู้ค่าคำนวน : การเปรียบเทียบ : การเรียงลำดับ : การจัดหมวดหมู่
สมมติฐานงานวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าการทดลอง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ได้เสนอตามข้อต่อไปนี้
1. ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2. ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
3. จุดมุ่งหมายในการเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
4. ทฤษฎีและแนวคิดพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์
5. หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด้กปฐมวัย
6. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยต้องเรียน
7. แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานคณิตสาสตร์
8. การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยศึกษา
9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
บทที่ 3 วิธีการดำเนินวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาตามหัวข้อต่อไปนี้
1. การกำหนดปนะชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
4. แบบแผนการทดลองและการดำเนินการทดลอง
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างวิจัย เป็นเด็กชาย-หญิง ระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนวัดนิมมานรดี สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเพทพมหานคร ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง Purposive Samping
เลือกห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 1 ห้อง จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แบบแผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
หาค่าเฉลี่ย Mean โดยคำนวนจากสูตรล้วนๆ
หาค่า X แทนค่าเฉลี่ย
Ex แทนผลรวมคะแนนทั้งหมด
N แทนจำนวนเด็กปฐมวัย
Ex=2 แทนรวมของกำลังสองของคะแนนนักเรียนแต่ละคน
ตัวแปรระดับความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
การแปลผลระดับบความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตสาสตร์ของเด็กปฐมวัยในการวิจัย
ครั้งนี้ กำหนดการแปลผลในภาพรวมและจำแนกดังนี้
ค่าเฉลี่ย X
6.68-10.00 หมายถึง ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับสูง
3.34-6.67 หมายถึง ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับปานกลาง
0.00-3.33 หมายถึง ความสามารถด้านทักษะพิ้นฐานทางคณิตศาสตร์ระดับต่ำ
บทที่4 การวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลวิเคราะห์ข้อมูลในการทดลองตามลำดับ
ของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 30 คนก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ ซึ่งผู้วิจัยมีการเปรียบเที่ยบข้อมูลจากตารางกการศึกษาระดับการเปลี่ยนแปลงของทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยว่า การจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษโดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลางโดยเด็กปฐมวัยมีความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้จำนวนสูงเป็นอันดับแรก
รองลงมา การจัดการเปรียบเทียบ และการจัดหมวดหมู่เรียงลำดับตามลำดับ
หลังจากการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษของเด็กปฐมวัย
พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.59
ของทักาะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ก่อนการทดลอง โดยทักษะทางคณิตศาสตร์การเรียงลำดับ
เพิ่มสูงขึ้น เป็นอันดับแรกร้อยละ 82.10 รองลงมาเป็นการจัดหมวดหมู่ ร้อยละ 62.76
การเปรียบเทียบ ร้อยละ 55.90 และการรู้ค่าจำนวน ร้อยละ 51.38 ตามลำดับ
สรุปจากตาราง
สรุปจากตาราง 6 ตารางแสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาาสามารถพัฒนาเด็กได้ทุกระดับความสามารถ เด็กปฐมวัยเป็นตัวอย่างทั้ง 3 คน ผู้วิจัยเลือกเด็กปฐมวัยที่มีทักษะความสามารถางคณิตศาสตร์ ต่ำ ปานกลาง และสูง ได้แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษสามารถพัฒนาเด้กปฐมวัยที่มีความสามารถทักาะพื้นฐานคณิตศาสตร์น้อย ให้มีความสามารถมากกว่าพื้นฐานเดิมได้มากที่สุดร้อยละ 114.28
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
งานวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ
เพื่อการเรียนรู้เป็นเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาทักษะพืิ้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการปั้น กระดาษเพื่อการเรียนรู้ เป็นแนวทางให้ครูและผู้เกี่ยวข้อง
กับการจัดการศึกษาปฐมวัยได้ประโยชน์ในการ พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ให้แก่ เด็กอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดกิจกรรมและพัฒนนา การของเด็กต่อไป
กลุ่มเป้าหมายคือเด็กปฐมวัย 5-6 ปี อนุบาลชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยศึกษาประกอบด้วยแผ่นการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการปั้น
กระดาษจำนวน 24 แผ่น แบบทดสอบพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
มีการดำเนินการทดสอบ
การวิจัยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ในช่วงกิจกรรมการปั้นกระดาษจัดอยู่
ในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
1. มีการทดสอบก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง Pretest เพื่อหาพื้นฐานทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและนำมาตรวจสอบให้คะแนนตามเกณฑ์
และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
2. ดำเนินการทดลองในกิจกรรมการปั้นกระดาษใช้เวลา 8 สัปดาห์ ละ 3 วัน ๆ ละ 30 นาที
ช่วงเวลา 09.30-10.00 น. รวมทั้งสิ้น 24 วัน
3. เมื่อดำเนินการทดสอบครบ 8.1สัปดาห์ ผู้วิจัยได้ทำการทดลอง Poesttest กับกลุ่มตัวอย่าง
โดยใช้การทดสอบวัดความสามารถทักษะพื้นฐานทางคณิตสาสตร์ฉับบเดียวกันกับทดสอบ
ที่ใช้กับกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มทดสอบ
อภิปรายผลการวิจัย
การค้นคว้าหาข้อมูลตามอิสระเพื่อค้นหาการศึกษางานวิจัยการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผลของการค้นคว้าปรากฎว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าานของเด็กปฐมวัย หลักการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษสูงกว่า ตอนการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยก่อนการทดลองอยู่ในระดีบปานกลางเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษอยู่ในระดับสูง การเรียนรู้ค่าคำนวน มีการทดลองในระดับปานกลาง แต่มีการจัดกิจกรรมมาช่วยเสริมการเรียนรู้ค่าจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมการปั้นกระดาษ ไข่ในตะกร้า การเปรียบเที่ยบก่อนแหละหลังเด้กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงระดับการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์จากเดิมปานกลางมาเป็น ระดับสูง การจัดหมวดหมู่ รูปทรง ขนาด น้ำหนัก ประเภท ของหุ่นที่ปั้นได้แต่ละสัปดาห์ ดีขึ้นจากเดิมซึ่งทำได้อยู่ในระดับต่ำ การเรียงลำดับจากกิจกรรมคุณกลมกลลม เด็กมีการลงมือปฏิบัติเสร็จแล้ว นำกระดาษปั้นวงกลมมาเรียงตามลำดับจำนวนแลปริมาณ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. ครูควรนำกิจกรรมการปั้นกระดาษมาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยโดยพิจารณาความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก
2. ก่อนเด็กจะลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูควรมีความมั่นใจว่าเด็กเข้าใจถึงวิธีการปั้นในกิจกรรมนั้นๆเป็นอย่างดี ถ้าเด็กยังไม่เข้าใจครูควรมีการอธิบาย เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากขึ้น และขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรม ครูควรสังการทำกิจกรรมของเด็ก คอยเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาของงานการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษที่มีต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ
ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ เช่นการพัฒนาด้านการคิดแก้ไขปัญหา
พัฒนาทักษะทางด้านภาษาพัฒนาด้านมิติสัมพันธ์ พัฒนาด้านสังคม
พัฒนาด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กเป็นต้น
2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการปั้นกระดาษในอนุบาล 1-ถึงปีที่ 3
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย เช่น การรู้ค่าจำนวน การเปรียบเทียบ
การเรียงลำดับและการจัดหมวดหมู่ลำดับต่อไป
การเรียนการสอนคาบแรก 8 มกราคม 2559
การบันทึกครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เป็นวันแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ท่านได้แจกกระดาษ 1แผ่น แล้วให้นักศึกษาแบ่งให้เป็น 3 ส่วน
ให้เขียนจุดเด่นของตนเอง ลงในกระดาษและในส่งให้อาจารย์ทายถึงลักษณะจุดเด่น
ของนักศึกษาแต่ละคนพร้อมถามชื่อและจังหวัดของนักศึกษา
ให้เขียนจุดเด่นของตนเอง ลงในกระดาษและในส่งให้อาจารย์ทายถึงลักษณะจุดเด่น
ของนักศึกษาแต่ละคนพร้อมถามชื่อและจังหวัดของนักศึกษา
อาจารย์ท่านได้สั่งงาน การทำ Blogger เพื่อส่งงานตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาบอกเกี่ยวกับองค์ประกอบโดยรวมของบล็อค รายละเอียดหัวข้อ และมอบหมายให้ไปสร้างบล็อกพร้อมค้นหางานตามหัวข้อที่ได้รับคือ งานวิจัย 5บท ของมหาวิทยาลัยห้ามซ้ำกันกับเพื่อนพร้อมสรุปงานวิจัยและออกมานำเสนออาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559
ทักษะที่ได้รับ
ทักษะวิธีการการวางแผน
ทักษะการฟังและการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนในห้องเรียนได้จริง
สามารถนำทักษะทีได้รับวันนี้ไปใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆได้เป็นอย่างดี
บรรยาการในห้องเรียน
สนุกสนานไม่เครียดกับการเรียนเพื่อนๆตั้งใจในการตอบคำถามและตั้งใจฟัง
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่สนุกสนานไม่รู้สึกกดดันและฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ทำให้
มีการตื่นตัวที่จะต้องตอบโจทย์และการเรียนแบบนี้ทำให้ตัวนักศึกษาไม่ง่วงนอนค่ะพร้อม
ยังทำให้รู้สึกว่าการเรียนการสอนดูสนุกสนานเพลิดเพลินทำให้ได้รับความรู้ในจุดนี้ค่ะ
คุณธรรมจริยธรรม
ตั้งใจเรียนขณะอาจารย์ท่านกำลังสอน
ไม่คุยหรือเล่นโทรศัพท์ในห้องเรียน
รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบงาน
รูปภาพกิจกรรมการเรียน
อาจารย์อธิบายการสั่งงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)